ความหมายฉลองพระองค์ พระราชินี ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ความหมายฉลองพระองค์ พระราชินี ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้แทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลแม่ข่าย และโรง พ ย า บ าลสนาม ที่เปิดให้บริการรักษาผู้ติด เ ชื้ อ ในสถานการณ์ รับพระราชทานถุงพระราชทานกำลังใจ เพื่อเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการปฏิบัติงานในสถานการณ์

ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมแพรวาลายเกาะ "สืบสาน รักษา ต่อยอด พระปณิธาน

ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนนีพันปีหลวง เสด็จมาพำนัก ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสนิกรของพระองค์ และเสด็จมาที่ อ.คำม่วง ณ ขณะนั้นมีหญิงชาวบ้านโพน อ. คำม่วง จ. กาฬสินธุ์ จำนวน ๙ คน แต่งกายด้วยชุดภูไท ใส่เสื้อดำแขนยาวผ่าอก พร้อมผ้าเบี่ยง ทรงทอดพระเนตรเห็นชาวบ้านโพนแต่งกายไม่เหมือนใคร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนนีพันปีหลวง มีพระราชดำรัสถามว่า " มาจากไหน ทำไมแต่งกายแบบนี้" หญิงชาวบ้านตอบว่าเป็นชาวผู้ไท บ้านโพน ท่านเลยขอจับผ้าดู ท่านมีพระราชดำรัสถามต่อไปว่า " อยากจะได้ จะได้ไหมจ๊ะ" ชาวบ้านตอบว่าได้

รุ่งเช้า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนนีพันปีหลวง ทรงให้ราชเลขาฯ เอาเส้นไหมไปให้ ๙ กิโลกรัมเพื่อทำผ้าแพรวา เมื่อชาวบ้านได้รับเส้นไหม จึงแบ่งกันทอได้ ๑๑ ผืน เป็นผ้ายอย หรือผ้าเบี่ยง ซึ่งเป็นผ้าหน้าแคบแบบมีเชิง ๒ ข้าง ยาว ๒ เมตรกว่า ในปีเดียวกันนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวบ้านและข้าราชการเข้าเฝ้าที่ตำหนักไกลกังวล เมื่อทรงรับผ้า พระองค์มีพระราชดำรัสสั่งให้เจ้าหน้าที่เกษตรหรือฝ่ายพัฒนาชุมชนจัดตั้งกลุ่มตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เป็นต้นมา

ผ้าแพรวาเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบานที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไทบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผ้าทอมือที่มีความวิจิตรสวยงาม ซึ่งเป็นที่นิยม นำผ้าแพรวาไปตัดเย็บเครื่องแต่งกาย จนกระทั่งผ้าแพรวาได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกาฬสินธุ์

คำว่า "ผ้าแพรวา" มีความหมายรวมกันคือ ผ้าทอเป็นผืนแบบหน้าแคบ มีความยาวขนาด ๑ วา หรือ ๑ ช่วงแขน แต่เดิมนั้นผ้าแพรวาเป็นผ้าห่มตัวซึ่งเป็นของใช้ของสตรี มีประโยชน์หลายประการ ที่ใช้กันมาก เช่น ใช้ห่มเฉียงไหล่ (เบี่ยงแพร เบี่ยงบ้าย) หรือสไบ ใช้รัดหน้าอกหรือเคียนอก และใช้ปูสำหรับกราบพระ

ลวดลายในผ้าแพรวาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑.ลายหลักหรือดอกลายคือลายที่มีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของลายหลักคือ ลายนอก ลายใน และลายเครือ ๒. ลายคั่นหรือลายแถบ เป็นลายที่มีขนาดเล็กอยู่ในแนวขวางของผืนผ้า ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งลายหลักออกเป็นช่วงสลับกันไป ๓. ลายเชิงหรือลายช่อปลายเชิง คือลายที่อยู่ตรงช่วงปลายของลายผ้าทั้งสองข้าง ทำหน้าทีเป็นตัวเริ่มต้นและตัวจบของลายผ้า

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ