สรุปมาให้แล้ว มาตรการเยียวยา 10 จังหวัด 9 อาชีพ ม.33 รับสูงสุด 10,000

สรุปมาให้แล้ว มาตรการเยียวยา 10 จังหวัด 9 อาชีพ ม.33 รับสูงสุด 10,000

วันที่ 13 ก.ค.64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพื่อช่วยลดผลกระทบในระยะสั้น

สำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคมใน 9 สาขา ได้แก่

ก่อสร้าง

กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์

กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

5 หมวดกิจการของถุงเงิน (เพิ่มเติมจากเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ประกอบด้วย

ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

ร้าน OTOP

ร้านค้าทั่วไป

ร้านค้าบริการ

กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

โดยมีมาตรการช่วยเหลือ ระยะเวลา 1 เดือน(อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์) ดังนี้

ผู้ประกันตน ม.33 ในกิจการ 9 หมวด

ลูกจ้าง รัฐจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท

จ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทย 2,500 บาทต่อคน (รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท)

ผู้ประกันตน ม.39-40

ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ต่อคน

ผู้ประกอบการใน ม.33 ในกิจการ 9 หมวด

ได้รับรายละ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำกัดไม่เกิน 200 คน

ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance)

ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท

ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในประกันสังคม

ขึ้นทะเบียน ม.33 ในเดือน ก.ค.64

นายจ้างได้ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำกัดไม่เกิน 200 คน

ลูกจ้าง รัฐจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท

ลูกจ้างสัญชาติไทยได้เงินช่วยเหลือ 2,500 บาท ต่อคน

ผู้ประกอบการไม่อยู่ในประกันสังคม

ลงทะเบียน ม.40 ในเดือน ก.ค.64

ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน

ผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน ใน 5 หมวดภายใต้โครงการคนละครึ่ง-เราชนะ ปัจจุบันมีลูกจ้าง

ขึ้นทะเบียน ม.33 ในเดือน ก.ค.64

นายจ้างได้ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำกัด ไม่เกิน 200 คน

ลูกจ้างสัญชาติไทยได้เงินช่วยเหลือ 2,500 บาท ต่อคน

ผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน ใน 5 หมวดภายใต้โครงการคนละครึ่ง-เราชนะ ปัจจุบันไม่มีลูกจ้าง

ลงทะเบียน ม.40 ในเดือน ก.ค.64

ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ