เปิดที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ผ้าไหมแพรวาลายใบบุ่นก้านก่อง นาคสองแขน

เปิดที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ผ้าไหมแพรวาลายใบบุ่นก้านก่อง นาคสองแขน

เมื่อวันที่ 14 ก.ค.64 - พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เอกอัครราชทูตต่างประเทศเฝ้า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมกราบบังคมทูลลาในโอกาสที่จะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่

ในการนี้ทรง ฉลองพระองค์ผ้าไหมแพรวา ลายใบบุ่นก้านก่อง นาคสองแขน

ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทหรือภูไทที่มีชื่อเสียงชนกลุ่มผู้ไท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษา วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย

และการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอ ที่มีลวดลายโดดเด่น ปราณีต ที่เป็นภูมิปัญญา ซึ่งรับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ้าไหมแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็น สัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ไท

ความเชื่อของผู้ทอ และผู้สวมใส่นั้น เชื่อว่าเป็นผ้ามงคล ผู้ใดมีไว้ครอบครอง หรือสวมใส่ก็จะเป็นมงคลต่อตนเอง

โดยเป็นการสร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรมที่สื่อสารกันระหว่างศิลปะกับสภาพแวดล้อมที่ผู้ทอคิดกรรมวิธีถ่ายทอดการทอสืบต่อมาจากบรรพบุรุษของแต่ละครอบครัว ลวดลายแพรวาจะดัดแปลงมาจากพืชพันธุ์ สัตว์

หรือดวงดาวออกมาตามจิตนาการเป็นความเชื่อว่าเมื่อทอออกมาแล้วผู้ครอบครองจะได้รับแต่สิ่งดี ๆ ตามลวดลายที่จัดทำขึ้น อาทิ ดอกพันมหา (ดอกไม้ใหญ่) ผู้สวมใส่จะรู้สึกสง่า อ่อนหวาน และมีความสุข อายุยืน ลายงูลอยน้ำ (ลายนาค)

มีความหมายถึงน้ำ ความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ จะใช้สำหรับงานมงคล ผู้สวมใส่จะทำให้มีความรู้สึกน่าเคารพบูชา หรือลายขอ (ลายขอก่าย) ที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกันคล้ายลูกโซ่ไม่รู้จบมีความหมายเป็นอมตะ ความเจริญอย่างไม่สิ้นสุด เป็นต้น

เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถเสด็จ เยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวผู้ไท บ้านโพน แต่ง ตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบ ห่มสไบเฉียงแพรวาสีแดง หรือเรียกว่า ผ้าเบี่ยง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลได้ทรงพระราชทานเส้นไหมให้แก่ชาวบ้านโพนเพื่อทอผ้าแพรวาถวาย และโปรดรับงานทอผ้าแพรวาของชาวผู้ไท

อำเภอคำม่วงเข้าไว้ในโครงการศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงโปรดให้มีการพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา จนทำให้ ผ้าแพรวาเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดั่งคำขวัญ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมือง ฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำวัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี

ด้วยความสำคัญของผ้าไหมแพรวา ทางจังหวัด กาฬสินธุ์จึงได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญ ที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัด ถือได้ว่าผ้าไหมแพรวาเป็น ศิลปหัตถกรรม และวัฒนธรรม ผ่าน กลไกของกระบวนการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนทอผ้าผ้าไหมแพรวา บ้านโพน ในการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ ผ่านกระบวนการสร้างภาพตัวแทนในบริบทของประเพณี วัฒนธรรมการใช้เครื่อง แต่งกายได้อย่างชัดเจน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ