งานเข้า ละครให้รักพิพากษา อัยการเดือด บิดเบือนกระทบใจทั้งประเทศ

งานเข้า ละครให้รักพิพากษา อัยการเดือด บิดเบือนกระทบใจทั้งประเทศ

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งละคร ที่หลายๆคนเฝ้าติดตามกันเป็นจำนวนมาก เพราะช่วงนี้ดูเหมือนยอดวิวจะพุ่งไม่หยุดเลยจ้า สำหรับละครพิพากษ์ ทางช่อง 3 นำแสดงโดยนางเอกซุปตาร์ เบลล่า ราณี รับบทเป็นทนาย

พระนางน่ารักมาก

ล่าสุด วันที่ 13 สิงหาคม 2564 เกิดดราม่าขึ้นมาจนได้ เมื่อ นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กไม่พอใจเกี่ยวกับบทละครที่ทำให้คนดูเข้าใจอัยการผิด ระบุว่า ให้รักพิพากษา ละครช่อง 3 เป็นละครที่มีการนำเสนอที่บิดเบือนการทำงานของอัยการที่เสียหายมาก เช่น คดีไม่สำคัญมอบอัยการผู้ช่วยทำ หรือ ชวนทนายมาเป็นอัยการเพราะกำลังขาดคน หรือการทำงานโดยเลือกเอาเอกสารออกจากสำนวน ฯลฯ

ภาพจาก ช่อง 3

ทั้งหมดทำให้สังคมเข้าใจบทบาทอัยการไม่ถูกต้องอย่างรุนแรง กระทบต่อความรู้สึกของอัยการทั่วประเทศ ในเบื้องต้นจะได้ประสาน หนุ่ม กรรชัย เพื่อให้รับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว

ภาพจาก ช่อง 3

ทั้งนี้ แม้จะดูเป็นบทละคร แต่ก็มีการเผยแพร่ไปยังประชาชนทั่วประเทศ อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในหลายประเด็นที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรม สังคมจะเข้าใจผิดว่า หากมีคดีเล็กน้อยจะให้อัยการผู้ช่วยเป็นคนทำ ทั้งที่ทุกคดีมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ซึ่งอัยการจะพิจารณาตามพยานหลักฐานอย่างรัดกุมที่สุด

ภาพจาก ช่อง 3

อีกประเด็นคือ การเสนอเนื้อหาที่ว่าสามารถทาบทามบุคคลมาเป็นพนักงานอัยการได้ ทั้งที่ความจริงการจะเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัยการ ต้องมีการสอบเข้ามาเป็นอัยการผู้ช่วยก่อน และต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุด มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องรองรับ

ภาพจาก ช่อง 3

อีกเรื่องที่เรียกว่าบิดเบือนไปมาก คือ มีการเลื่อนตำแหน่งจากอัยการไปเป็นผู้พิพากษา ซึ่งไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด จึงอยากให้ผู้จัดดำเนินเนื้อเรื่องด้วยความระมัดระวังและควรจะแก้ไข เพื่อไม่ให้สังคมเข้าใจผิดอีก

ด้าน นายอดิศร ไชยคุปต์ รองอธิบดีอัยการ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ส่งอีเมลไปยังผู้จัดละครเรื่องดังกล่าว และผู้บริหารช่อง 3 ระบุถึงบทละคร ผู้เล่นบทพนักงานอัยการ มีการส่อถึงการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการที่ไม่ชอบ ขัดต่อความเป็นจริง และไม่ตรงต่อหลักการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ที่ต้องมุ่งค้นหาความจริงให้ปรากฏในศาลเพื่อความยุติธรรม

โดยพนักงานอัยการไม่ใช่คู่แพ้-ชนะกับผู้ต้องหาและจำเลย และการเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัยการต้องมีการสอบเข้าโดยมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับการสอบเข้าเป็นผู้พิพากษา อันเป็นบทบัญญัติตามกฎหมาย บทละครดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในวิชาชีพพนักงานอัยการ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพนักงานอัยการและองค์กรอัยการ และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม เป็นการไม่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อสังคม

นอกจากนี้ หากดูตามข้อเท็จจริงคือ ตอนออกศาลโดยปกติแล้วจะมีผู้พิพากษาขึ้นนั่งบนบัลลังก์ 3 คน แต่ในละครมีผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์มากถึง 4 คน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ