หมอประสิทธิ์ เตือนเดือนนี้มาแน่ ไทยเสี่ยงCVระลอกใหม่

หมอประสิทธิ์ เตือนเดือนนี้มาแน่ ไทยเสี่ยงCVระลอกใหม่

วันที่ 25 พ.ย. 2564 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์cv ระลอกใหม่ในต่างประเทศและข้อแนะนำในการป้องกันตนเองเมื่อเปิดประเทศ

ในช่วงหนึ่งว่า องค์การอนามัยโลกกังวลอย่างยิ่งกับการแพร่ในยุโรป ณ ขณะนี้ ซึ่งตอนนี้หลากหลายประเทศในยุโรปที่สงบ กลับขึ้นมาอีกครั้ง

ซึ่งมีตัวแทนองค์การอนามัยโลกพูดว่า หากไม่มีการจัดการอะไร ภายในเดือนมี.ค. นี้อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาหากมีการแพร่ในทวีปใดทวีปหนึ่ง อีกไม่นานก็จะแพร่ไปทวีปอื่น

สถานการณ์ของโลกเหมือนจะลดลง แต่เดือน ต.ค.อุบัติการณ์การติดต่อวันของทั้งโลกกลับขึ้นมา เคยลงมาถึง 3 แสนรายต่อวัน ตอนนี้เป็น 5 - 6 แสนรายต่อวัน แต่ขณะเดียวกันหากดูอัตรากราฟไม่ไปด้วยกันแล้ว จากปีที่แล้วติดcvเยอะ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ ทั้งหมดเป็นปัจจัยจากการรับวัคซีน

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นประเทศต้นๆ ที่เริ่มให้รับวัคซีนที่ 3 และเราทำก่อนประเทศตะวันตก เพราะเราพบว่ามีบุคลากรทางการแพทย์ที่รับวัคซีนครบมีการติดเพิ่มขึ้น เราตัดสินใจรับวัคซีนรอบ 3 ตั้งแต่ ก.ย. ตอนแรกประเทศยุโรปไม่เห็นด้วย แต่ตอนนี้เริ่มทำเช่นกัน โดยเขาก็ทำคล้ายไทย เริ่มจากกลุ่มเสี่ยง กลุ่มบุคลากร

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ยุโรปพบว่า แม้รับวัคซีน 1 และครบโดสเกิน 70% แล้วก็ยังติดได้ ปัจจัยสำคัญมาจาก วัฒนธรรมความเชื่อ ความเป็นอิสระในตะวันตกจะมากกว่า และอีกจำนวนหนึ่งไม่ไว้วางใจในประสิทธิภาพวัคซีน จนถึงวันนี้ยังมีคนจำนวนไม่น้อยไม่ยอมรับวัคซีน การผ่อนคลายสภาวะที่ถูกควบคุม สันทนาการ การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มใหญ่ๆที่ขาดมาตรการป้องกัน อย่าลืมว่า CVอยู่มา 2 ปี เรามีความเครียดสะสม

และเมื่อประเทศมีการผ่อนคลาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้คนอยากผ่อนคลายมากขึ้น เพราะยกเลิกใส่หน้ากาก ยิ่งทำกัน รวมไปถึงเศรษฐกิจก็เป็นอีกปัจจัย อย่างการดึงเศรษฐกิจด้วยการมีกิจกรรมต่างๆ ก็เป็นส่วนสำคัญ ประกอบกับภูมิอากาศก็เป็นสิ่งหนึ่ง ยิ่งตะวันตกเข้าสู่หน้าหนาว อุณหภูมิลดลง และนิยมอยู่ในอาคารพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ก็ยิ่งเสี่ยง หากมีคนติดcvขึ้นมา ดังนั้น ในเดือนธ.ค. จึงเป็นช่วงเวลาเสี่ยงของทั้งโลก

อีกปัจจัยคือ การกลายพันธุ์ โดยขณะนี้ต้องติดตามคือ เดลตาพลัส และล่าสุดมีสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 แต่ไม่มีหลักฐานว่าจะก่อเรื่องอย่างไร โดยสายพันธุ์ใหม่นี้ พบ 10 คนที่มีการตรวจ แต่ที่ไม่ตรวจยังไม่รู้ โดย10 คนเจอครั้งแรก ที่บอสวานา 3 ราย มีรายงานที่แอฟริกาใต้ 6 ราย และ 1 รายที่ฮ่องกง โดยสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ 32 จุดที่เกี่ยวข้องกับสไปร์ทโปรตีน

กรณีนี้มีการติดตามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันจำไม่ได้หรือไม่ เพราะหากใช่ ก็อาจหลุดไปจากวัคซีนที่ฉีดตอนนี้ ดังนั้น จึงมีการติดตามเรื่องนี้อยู่ ที่นำมาเตือน เพราะให้เห็นว่า เรายังต้องสวมหน้ากากอนามัย ต้องเข้มมาตรการและขอย้ำว่า ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะอย่างไรก็มีการกลายพันธุ์อยู่ดี

และทั่วโลกมีการเฝ้าติดตามต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก ยังระบุว่า มีอัลฟา เดลตา เบตา แกมมา ก็ยังมี 4 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่เฝ้าติดตาม ยังเป็นแลมดา และMu

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันไม่ใช่ทุกประเทศเปิดประเทศแล้วเกิดเรื่อง มีญี่ปุ่น อิสราเอล ที่ไม่เกิดเรื่อง จุดสำคัญคือ การมีวินัยและความร่วมมือกันของทุกฝ่าย อย่างญี่ปุ่นมีการฉีดวัคซีนสูงกว่า 70% อิสราเอลก็เช่นกัน แม้ติดเชื้อหลักพัน แต่เสียชีวิตต่ำมาก

ดังนั้น เห็นได้ชัดว่า ทุกคนต้องร่วมมือร่วมกัน ทั้งรัฐ ประชาชน ผู้ประกอบการ ทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนมาก ที่สำคัญคงมาตรการเข้มงวด การใส่หน้ากากอนามัยต้องถูกวิธี ไม่ใช่อยู่ตรงคาง ยังรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล และรายงานตัวหากสงสัยติดเชื้อ ที่สำคัญในส่วนรัฐหากมีอะไรเกิดขึ้นต้องตัดสินใจเปลี่ยนมาตรการอย่างรวดเร็ว และขอให้เลี่ยง 4 เสี่ยง คือ บุคคลเสี่ยง สถานที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง ช่วงเวลาเสี่ยง ยิ่ง ธ.ค.นี้สำคัญมาก เป็นวันหยุดยาว อากาศหนาว แม้ไม่หนาวเท่ายุโรป แต่เป็นช่วงเทศกาล ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันทั้งหมด

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ