สรุป 8 มาตรการ แจกเงินคนละ 15000 คืนเงินในกระเป๋าให้ทุกคน

สรุป 8 มาตรการ แจกเงินคนละ 15000 คืนเงินในกระเป๋าให้ทุกคน

วันที่ 24 มีนาคม 2563 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการระยะที่ 2 ในการดูแลเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากกรณีที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด โควิด 19 สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ พล อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศใช้ พ ร ก ฉุกเฉิน หรือ พระราชกำหนด พ ร ก การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ 2548 เพื่อเป็นการสกัดเชื้อไวรัสโคโรน่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม เป็นต้นไปนั้น

โดย มาตรการระยะที่ 2 สำหรับเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน มีทั้งสิ้น 8 มาตรการ ได้แก่

เพิ่มสภาพคล่อง

1 สนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน เมษายนมิถุนายน 2563 ให้เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ระบบประกันสังคม จากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว จำนวน 3 ล้านคน

สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้าง โดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน โดยธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

2 สินเชื่อฉุกเฉิน 10000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธกส สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 20000 ล้านบาท และ ธกส 20000

ล้านบาท ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

3 สินเชื่อพิเศษ 50000 บาทต่อราย โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ วงเงิน 20000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน มีหลักประกัน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

4 สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบ โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2000 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในนามของสำนักงานธนานุเคราะห์ สธค คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกิน 0.125 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี

ลดภาระ

5 ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไป จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2563

6 หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15000 บาท เป็น 25000 บาท เมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป

7 ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์

เพิ่มทักษะ

8 ฝึกอบรมมีเงินใช้ : ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้ขยายฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือกองทุนหมู่บ้าน

คลิป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เฟซบุ๊ก Live NBT2HD

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ