นายกฯสั่งจับจริง ผิด พรก ฉุกเฉิน เตือนไม่ฟัง สั่งฟ้อง เข้าคุกไม่รออาญา

นายกฯสั่งจับจริง ผิด พรก ฉุกเฉิน เตือนไม่ฟัง สั่งฟ้อง เข้าคุกไม่รออาญา

วันที่ 1 เมษายน ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ศบค ทำเนียบรัฐบาล พล ต ท ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงว่า กรณียังมีประชาชนบางส่วนฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ประกาศ ข้อกฎหมาย พรก ฉุกเฉิน พรบ โรคติดต่อฯ

ยังมีเกิดขึ้นหลายกรณี อาทิ มั่วสุม ตั้งวงสังสรรค์อย่างสนุกสนาน เล่นการพนัน กักตุนสินค้า ขายหน้ากากอนามัยหรือเวชภัณฑ์อื่นๆในราคาเกินควร กักตุนแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ซึ่งแต่ละกรณีมีโทษหนักถึงจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

พล ต ท ปิยะ กล่าวว่า ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับ เจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ เข้มงวด กับผู้ที่ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน เช่นเมาแล้วขับรถ เด็กแว๊น การจัดปาร์ตี้ยาอี ซึ่งต้องใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น

เพราะถือว่ากรณีเหล่านี้เป็นคดีที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้กำชับตำรวจทุกฝ่ายให้รีบดำเนินคดีและรวบรวมพยานหลักฐาน ให้ถึงต้นตอและเสนอสั่งฟ้องทุกข้อหา และให้ลงโทษสถานหนักไม่ต้องรอลงอาญา พร้อมกับริบของกลางด้วย

พล ต ท ปิยะ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ทุกคน ทำงานหนัก ดังนั้นขอประชาชนเพียงอย่างเดียวคือขอให้อยู่บ้าน รักษาระยะห่าง ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็นพร้อมกับใส่หน้ากากอนามัย อย่างไรก็ตามในบางจังหวัดที่ห้ามออกจากเคหสถาน ก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่ปกติ ไม่ใช่เวลาการทำงานทั่วไป ถ้าจะออกก็คงเป็นเพราะกรณีเป็นคนขนส่ง สินค้าอุปโภคบริโภคหรือยาเวชภัณฑ์ หรืออื่นๆที่จำเป็น

แต่ถ้าจะต้องไปธุระอย่างอื่นนั้นขอว่าอย่าดีกว่า ขอเตือนไว้ก่อนเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้มงวดอย่างเต็มที่เพื่อบ้านเมืองของเรา

พล ต ท ปิยะ กล่าวว่า บางจังหวัดเช่นนนทบุรีที่ได้ขอความร่วมมือว่าไม่ควรออกนอกบ้านนั้น ช่วงเวลาสี่ทุ่มถึงตีห้า ดังนั้นพี่น้องประชาชนยังสามารถขับรถออกมาทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นคนที่เดินทางต้องจำเป็นโดยแท้

หรือแม้แต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งประกาศ ตาม พรบ โรคติดต่อฯ ม.35 ปิดจังหวัดขอความร่วมมือเรื่องเข้าหรือออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นก็แล้วแต่กรณีของแต่ละจังหวัดแต่ขอย้ำว่าออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น ถ้าไม่จำเป็นขอให้อยู่บ้าน

พล ต ท ปิยะ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทุกภาคส่วนว่า การตรวจคัดกรองมีสองลักษณะ คือด่านคัดกรองที่มีอยู่ 409 แห่ง เน้นการข้ามระหว่างจังหวัด เพื่อคัดกรองคน นอกจากนั้นยังมีด่านเคลื่อนที่ ตามพรบ.โรคติดต่อฯ หรือหน่วยเคลื่อนที่เร็วโดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง จะหมุนเวียนกันคอยเน้นการแนะนำพี่น้องประชาชนแต่หากเตือนแล้วไม่เชื่อฟังก็ต้องดำเนินคดี

ขอบคุณ khaosod

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ