แพทย์นิติเวช รพ.ตำรวจ ยืนยัน การชันสูตรน้องชมพู่แล้ว

แพทย์นิติเวช รพ.ตำรวจ ยืนยัน การชันสูตรน้องชมพู่แล้ว

15 ก.ค.2563 ที่รัฐสภา กรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เชิญ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติชี้แจงการปฏิบัติงาน ในการสืบสวนหาคนร้ายในคดีน้องชมพู่ เสียชีวิตปริศนาในป่า จ.มุกดาหาร โดย นายสิระ เจนจาคะ ประธาน กมธ. กล่าวว่าเนื่องจาก คดีนี้ที่มีการเรียกประชาชนมาสอบสวนมากเกือบ 1,000 คน จึงตั้งคำถามว่ามีธงต้องการหาแพะมารับโทษเพื่อปิดคดีหรือไม่ และหลังจากนี้จะเชิญสื่อ2ช่อง มาให้ข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ด้วย

นายสุทัศน์ เงินหมื่น กรรมาธิการ กล่าวว่า การสืบสวนสอบสวน คดีนี้สามารถทำได้หลายทางโดยเฉพาะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่ศาลจะใช้อ้างอิงและเป็นที่เชื่อถือในระดับหนึ่ง ดังนั้นขอให้ตำรวจการจะสรุปปิดคดีนี้ ต้องระมัดระวัง

พลตำรวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. ยืนยันว่าการให้ข่าวเรื่องนี้ตำรวจให้ข่าวน้อยมาก โดยยืนยันการสืบสวนคดีนี้เริ่มจากตำรวจในท้องที่ และมีการมีการประสานให้ทีมสืบสวนส่วนกลางเข้าข่าย เพราะมีความยากลำบากในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน

ส่วนที่ต้องตรวจดีเอ็นเอ เพราะมีการพบวัตถุพยานหลายอย่างจากร่างกายของน้องชมพู่ การตรวจดีเอ็นเอจึงจำเป็นเพื่อหาว่าใครมีความเกี่ยวพันธ์บ้างและประชาชนกว่า 900 คนที่เป็นข่าวถูกเรียกสอบ เป็นแค่การพูดคุยกัน ไม่ได้เป็นการบังคับหรือ ละเมิด ทุกคนที่พูดคุยด้วยความสมัครใจ

และคดีนี้พยานจริงๆ ในสำนวน เพียง 63ราย และที่ผ่านมาไม่เคยมีประชาชนการร้องเรียนว่าถูกตำรวจคุกคาม และการเก็บดีเอ็นเอ ทำตามกฎหมายมาตรา 131 ป.วิอาญา มีการเก็บดีเอ็นเอ เพียง 100กว่ารายเท่านั้น คดีอื่นบางคดี มีการเก็บดีเอ็นเอมากกว่านี้

รอง ผบ.ตร.กล่าวว่าคดีนี้ เป็นคดีแรกในชีวิตที่มีประเด็นให้นำเสนอข่าวทุกวัน ยืนยันว่าไม่มีใครกดดันเจ้าหน้าที่ได้ แต่การนำเสนอข่าวทำให้การทำงานยากขึ้นบ้าง ยืนยันว่าข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์ ตำรวจรับฟังทุกด้าน มีการฟังพยานจากทุกคน แต่ต้องแยก ข้อเท็จจริง กับ ข้อสันนิฐาน ให้ออก เพราะหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ไม่ตอบทั้งหมด การสืบสวนต้องดูทุกอย่างประกอบกัน ส่วนประเด็นตั้งธงหาแพะรับโทษนั้น นืนยันว่าการทำคดีไม่ได้จำเป็นที่ต้องจับคนร้ายได้ทุกคดี แม้จะตรวจดีเอ็นเอ 700-800 บางคดีก็ยังจับไม่ได้ หลายเรื่องทำเป็นปีๆก็ยังไม่จบ

ด้านสายสิระ กล่าวว่าสิ่งที่พูดมาเห็นได้ชัดว่าตำรวจถูกกดดัน และเตรียมลงพื้นที่ไปถามประชาชน ว่าให้ตรวจดีเอ็นเอโดนสมัครใจหรือไม่ พร้อมเตือนตำรวจว่าการพยายามหว่านแหสอบสวนเรื่องนี้ เป็นเรื่องไม่ปกติในการทำคดี จึงขอให้ระวังการทำหน้าที่

รอง ผบ.ตร. ย้ำว่าคดีนี้ไม่มีทางกดดันได้ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน กดดันให้ตายยังไงก็ทำไม่ได้ ตำรวจไม่เคยทำนอกกติกา ตำรวจพยายามหลบผู้สื่อข่าวในการตรวจดีเอ็นเอ แต่ก็ยังมีสื่อนำไปเสนอข่าวจึงเป็นประเด็น และผู้ที่ถูกตรวจ ตำรวจไม่เคยถือเป็นผู้ต้องสงสัย แต่เวลาตำรวจพูดคุยกับใครสื่อก็ตามไปถ่ายนำเสนอข่าว ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นผู้ต้องสงสัย

ทั้งนี้กรรมาธิการ สอบถามถึงการชันสูตร2ครั้งที่แตกต่างกัน เหตุใดมีการตรวจซ้ำ โดย รอง ผบ.ตร. ชี้แจงว่าที่ต้องผ่า 2ครั้ง เพราะครั้งแรก ญาติยังติดใจสงสัย ว่ามีข้อมูลอื่นเพิ่มเติมจากผู้เชียวชาญอื่นหรือไม่ ครอบครัวจึงร้องขอให้ผ่าเป็นครั้งที่2 ส่วนหากผลขัดแย้งกัน ก็ต้องหาคำอธิบาย ยืนยันว่าคดีนี้ มีแต่ข่าวที่นำเสนอไปเอง ว่ามีการช่วงละเมิดทางเพศ แต่ตำรวจยังไม่เคยสรุปแบบนี้ เพราะการผ่าครั้งที่2 อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงได้ เช่นการขนย้าย ซึ่งแพทย์ที่ชันสูตร มีคำอธิบายอยู่แล้ว ย้ำว่าทุกวันนี้ เพราะมีการสรุปคดีกันเอาเอง

ส่วนที่การเก็บดีเอ็นเอสื่อมวลชน เพราะวันนั้นสื่อตามขึ้นไปทำข่าวด้วย เก็บเพื่อตัดพยานที่ไม่เกี่ยวข้องออก เพราะอาจมีวัตถุพยานตกหล่น ไม่ใช่การเก็บเรื่อยเปื่อยที่ทำมีเหตุผลสนับสนุน ส่วนที่ประชาชนร้องเรียน ว่าถูกคุกคาม ตำรวจก็พร้อมปรับการทำงาน และสามารถร้องเรียนมาที่ตำรวจได้

ส่วน ประเด็นละเมิดทางเพศ เป็นเรื่องที่อยู่ในสำนวน ส่วนศพน้องไปอยู่ตรวนั้รได้อย่างไร มีแค่2 คือ ไปเอง หรือมีใครพาไป ดังนั้นต้องมาดูเปอร์เซ็นความเป็นไปได้ ว่าน้องสามารถไปเองได้หรือไม่ แต่ตำรวจยังไม่เคยสรุปว่า ศพไปอยู่ตรงนั้นวันไหนเมื่อไหร่ เพราะอาจตะไปพักที่อื่นมาก่อนก็ได้ เส้นผมขาดได้อย่างไร ยืนยันว่าตำรวจยังไม่ได้ตัดประเด็นเหล่านี้เพราะทุกอย่างต้องมีคำตอบ แม้ว่าจะจับคนร้ายได้หรือไม่ก็ตาม แต่ต้องมีเหตุผลอธิบายได้ ย้ำว่าทุกฝ่ายอย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไร ประชาชนต้องใช้วิจารณญาณ

ด้าน ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ กรรมการแพทยสภากล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีกรรมการขึ้นมาเปรียบเทียบการผ่าศพ 2 ครั้ง เหมือนกับคดีนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ เพื่อผ่าครั้งที่3 ว่าแตกต่างอย่างไร ซึ่งให้แพทยสภารับผิดชอบเรื่องนี้ได้ เพราะคดีนี้พฤติการณ์ตายยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรแต่กลับมีการข้ามขั้นไปตรวจดีเอ็นเอหาสาเหตุการตายแล้วซึ่งมีมันเป็นเรื่องยาก เพราะศพเน่าไปแล้ว ดังนั้นต้องหาสาเหตุการตายให้ได้ก่อนว่ามีข้อสันนิษฐานอย่างไร

ตัวแทนราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจะผ่าศพ2ครั้ง พรักงานสอบสวน ต้องถามแพทยสภาก่อนเพื่อตั้งกรรมการเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนไม่ควรจะส่งศพไปผ่าเองที่ไหนก็ได้ ซึ่งการผ่าศพรอบที่2 หลักฐานจะได้น้อยกว่าอยู่แล้ว

นพ.ภาณุวัฒน์ ชุติวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่สื่อเพราะสื่อเข้าไปถามข้อมูลจากพยานถึงเรื่องในครอบครัว ดังนั้นคดีนี้มีความกดดันอย่างแน่นอน ส่วนการผ่าศพ 2ครั้ง ยืนยันว่า ในทางนิติเวชไม่มีทางจะได้ข้อมูลมากกว่าครั้งแรก แต่ครั้งที่2 อาจถูกชี้นำได้ ในทางการแพทย์ ไม่มีใครอยากผ่าซ้ำ และการผ่าครั้งที่2 ผ่าได้ยากมากๆ แต่ในทางสังคมมักเชื่อไปเองว่าครั้งที่2 มักได้ผลมากกว่าครั้งแรก ส่วนตัวคิดว่าคดีนี้กำลังมาผิดทางเพราะ เมื่อได้ผลจากครั้งแรกไม่พอใจต้องส่งไปผ่าครั้งที่ 2 เสมอ ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่มั่นใจในการทำหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และเมื่อผลออกมาต่างกัน คำตอบก็จะไปออกในผลที่น่าพอใจมากที่สุด ทั้งที่ไม่รู้ว่าผลครั้งไหนถูกต้อง และคดีนี้จากการชันสูตรสาเหตุการตายว่ามาจากการขาดอาหาร ก็มีความเป็นไปได้ แต่ถ้าจะถามว่าใครพาขึ้นไป ทางการแพทย์ไม่สามารถตอบได้ และขอให้ตำรวจแยกสิ่งตรวจพบและความเห็น โดยเฉพาะสื่อที่พอหาคำตอบไม่ได้ ก็ไปหาความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีจนเกิดความสับสน

การชี้แจงครั้งนี้ มีการเชิญ แพทย์ ผ่าชันสูตรทั้งครั้งแรกและครั้งที่2 มาให้ข้อมูลด้วย ซึ่งจากการซักถามปรากฎว่า ทางตำรวจ ไม่มีการนำแพทย์ ไปสอบปากคำ ซึ่งรอง ผบ.ตร. กล่าวว่าเรื่องนี้ ตำรวจยึดข้อมูลจากรายงานการชันสูตรเท่านั้น เพราะตำรวจเน้นที่ข้อเท็จจริงจากรายงานทั้ง2ฉบับ ยืนยันว่าตำรวจไม่มีปัญหากับความเห็นของแพทย์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรายงานแต่ละฉบับ หากผลชันสูตรครั้งที่2ไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอ ตำรวจก็ยึดผลชันสูตรครั้งแรกเป็นหลักอยู่แล้ว

ทั้งนี้ที่กรรมาธิการมีการซักถาม แพทย์ที่ผ่าชันสูตรครั้งที่2 อย่างมาก ถึงการชันสูตรครั้งที่2 ว่าแตกต่างจากครั้งแรกอย่างไร รวมถึงข้อสันนิษฐาน เรื่องสาเหตุการตาย และมีการเคลื่อนย้ายศพหรือไม่ เพราะกรรมาธิการมองว่าปัญหาในคดีนี้ เกิดจากผลการชันสูตรครั้งที่2 ที่ปรากฎตามสื่อ เพราะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำงานของ สถาบันนิติเวช รพ.ตำรวจ

พ.ต.ต. นพ.ณัฐพงศ์ กิตติโสภณพันธุ์ แพทย์นิติเวช รพ.ตำรวจ ยืนยันว่าการชันสูตรครั้งที่2 ที่พบบาดแผลฉีกขาดบริเวณอวัยวะเพศจริง แต่อาจเกิดจากการผ่าครั้งแรกหรืออาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายศพ จึงยืนยันว่าไม่ได้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถสรุปสาเหตุการตายได้ว่ามาจากอะไร เพราะพฤติกรรมการตาย ไม่สามารถตอบได้แน่ชัด ว่ามีใครทำให้ตายหรือไม่

ด้านนพ.ศักดิ์สิทธิ์ บุญลักษณ์ หัวหน้ากลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ผู้ผ่าชันสูตรศพน้องชมพู่คนแรก ยืนยันว่าไม่มีบาดแผลที่ส่งผลถึงแก่ความตายไม่มี มีเพียงบาดแผลที่เป็นรอยขีดข่วนเท่านั้น

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ