ที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี งามสง่า พระภูษาผ้าไหมแพรวา

ที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี งามสง่า พระภูษาผ้าไหมแพรวา

เมื่อวันที่ 16 มี.ค.64 แฟนเพจเฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้โพสต์ภาพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินในการทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

โดยระบุว่า ฉลองพระองค์ผ้าไหมพื้นเรียบ พระภูษาผ้าไหมแพรวาลาย ใบบุ่นอุ้มจันกิ่ง แมงกะเบ้อ(ผีเสื้อ) คั่นดอกลายดอกอ้อมดอกผักแว่น "พระกระเป๋าผ้าไหมแพรวา"

วิจิตรแพรวา ราชินีแห่งไหม EP3

ย้อนถิ่นลาวครั่ง เมืองสุพรรณบุรี

ลาวครั่ง และชาวผู้ไท จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า บรรพบุรุษได้อพยพในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน เข้ามายังประเทศไทยด้วยเหตุผลทางการเมือง และเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทำการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งพระองค์ท่านได้รวมอาณาจักรเวียงจันทร์และอาณาจักรหลวงพระบางเข้าด้วยกันกับประเทศสยาม การณ์ครั้งนั้นได้กวาดต้นชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาอยู่ตามหัวเมืองใกล้ๆเพื่อเสริมกำลังแก่พระนคร และโปรดเกล้าให้คนกลุ่มนี้อาศัยกระจายอยู่ในพื้นที่หลายๆแห่ง เช่น จังหวัดลพบุรี อำเภอพนัสนิคม อำเภอนครไชยศรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี และได้นำเทคนิคการทอผ้า เป็นเทคนิคเดียวกันกับผ้าแพรวาได้อย่างงดงาม

แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวา ถือเป็นผ้าทอมืออันที่เป็นเอกลักษณ์ของ "ชาวผู้ไทย หรือภูไท" ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย แล้วอพยพเคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขง การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ช่วงด้วยกันคือ สมัยธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 1 และสมัยรัชกาลที่ 3 เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสาน ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร

ผ้าแพรวา มีความหมายรวมกันคือ ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียง หรือเรียกว่า ผ้าเบี่ยงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาล บุญประเพณี หรืองานสำคัญอื่น ๆ โดยประเพณีทางวัฒนธรรมของหญิงสาวชาวภูไทจะต้องยึดถือปฏิบัติคือ ต้องตัดเย็บผ้าทอ 3 อย่าง คือ เสื้อดำ ตำแพร (การทอผ้าแพรวา) ซิ่นไหม

สิ่งที่สร้างความปลื้มปีติแก่ชาวบ้านโพนคือ ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง ในปี พ.ศ. 2520 ทอดพระเนตรเห็นชาวภูไท บ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง หรือเรียกว่า ผ้าเบี่ยง ทรงสนพระทัยมาก จึงโปรดให้มีการสนับสนุนการทำผ้าแพรวาและได้มีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นผ้าผืนสำหรับตัดเสื้อผ้าแบบอื่นได้ ทั้งยังมีการพัฒนาลวดลาย รูปแบบให้ทันสมัยและเหมาะสมตามความต้องการของตลาด

ความวิจิตรของลวดลายกว่าผ้าไหมลายอื่น ๆ จนได้ชื่อว่า "แพรวา ราชินีแห่งผ้าไหม" นั้น เกิดจากการที่ผ้าแพรวานั้น มีลวดลายต่างกันถึง 60 ลวดลาย อาทิ แพรวา ลายเกาะ แพรวาลายล่วง (แพรวา 2 สี) นอกจากลายผ้าแล้วผู้ที่ชื่นชอบผ้าแพรวาก็ยังเลือกลาย ขนาด และแบบตามที่ชื่นชอบได้อีก อาทิ ผ้าสไบ 10 ลาย ผ้าสไบเล็ก ผ้าพันคอ ผ้าแพรวา 3 สี รวมทั้งผ้าปูกลางโต๊ะ ผ้ารองจาน ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากผ้าแพรมน ที่เป็นผ้าพันผมเมื่อแต่งกายแบบบ้านโพนเต็มชุดนั่นเอง

ลวดลายของแพรวาจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิตของอีสาน แต่จะแตกต่างกันอยู่บ้างตรงความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลาย แต่มีลักษณะอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ ลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ