งามสง่า พระราชินี ฉลองพระองค์ พระภูษาผ้าไหมมัดหมี่ลายดางแห ย้อมครั่ง

งามสง่า พระราชินี ฉลองพระองค์ พระภูษาผ้าไหมมัดหมี่ลายดางแห ย้อมครั่ง

เมื่อวันที่ 29 เพจเฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โพสต์ภาพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งใหม่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

โดยในการนี้ พระราชินี ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมพื้นเรียบ "พระภูษาผ้าไหมมัดหมี่ลายดางแห ย้อมครั่ง"

มัดหมี่ลายดางแห เป็นหนึ่งลวดลายโบราณ "ดางแห"เป็นภาษาอีสาน หมายถึง แห เป็นเครื่องมือสำหรับจับปลา ช่างทอได้เห็นสิ่งของเครื่องใช้ ถ่ายทอดจินตนาการผ่านผืนผ้า ลักษณะลวดลายคล้ายตาข่าย มีความหมายนัยยะแฝงเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ด้วยสายพระเนตรของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเล็งเห็นในภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมของคนไทยทำให้ลวดลายมัดหมี่เหล่านี้คงอยู่ถึงทุกวันนี้

ครั่งเป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีตัวสีแดง ขนาดเล็กมาก ซึ่งอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง ต้นไม้ที่เลี้ยงครั่งมีหลายชนิด แต่มีสามารถเลี้ยงครั่งได้ผลดี คือต้นจามจุรี ต้นพทรา ต้นสะแก ต้นปันเถ สถานที่เลี้ยงจะเลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเจริญเติบโตของครั่ง มี ๔ ชั้นตอน คือ เป็นไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวแก่ ตามลำดับ ตัวเมียอายุคราวละ ๖ เดือน สืบพันธุ์ได้ ๒ ครั้งในหนึ่งปี

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าชาวกรีก และชาวแอสซีเรียมีการใช้ครั่งในการย้อมผ้ามาก่อนคริสตศักราข ชาวจีนและอินเดียใช้ครั่งย้อมสีผ้าไหมมากกว่า ๓,๐๐๐ ปี ปัจจุบันพบว่า กลุ่มประเทศในแถบเอเขีย เช่น อินเดีย จีน ไทย อินนีเซีย ลาว และกัมพูชา นิยมใช้ครั่งในการย้อมไหม และพบว่ามีการเลี้ยงครั่งกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ในประเทศไทยมีการเลี้ยงครั่งกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ครั่งนิยมนำมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหมมานานแล้ว สีเส้นไหมที่ย้อมได้จะขึ้นอยู่กับอายุของครั่งอายุของการเก็บรักษาครั่ง และชนิดของพืชอาศัย สีที่ได้จะมีความแตกต่างกันไปตั้งแต่สีแดงอมม่วง จนถึงสีแดงสด การเก็บครั่งนานกว่า ๒ ปี อาจทำให้สีและความคงทนของสีไม่ดีนัก ซึ่งควรใช้ครั่งที่แก่เต็มที่ ที่ยังใหม่อยู่ ในการสกัดสีครั่ง ใช้ครั่งจำนวน ๓ กิโลกรัม เมื่อสกัดน้ำสีอัตราส่วน ๑: ๑๐

สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ ๑ กิโลกรัม วิธีการสกัดสี นำครั่งมาล้างในน้ำสะอาด เพื่อกำจัดฝุ่นละออง และเศษผงที่ติดมากับครั่ง แล้วนำไปแช่ในแอลกอฮอล์นาน ๕-๑๐ นาที เพื่อละลายส่วนที่เป็นสีเหลืองออก จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปต้มสกัดสี นาน ๑ ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ การย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน โดยใส่สารส้ม และน้ำมะขามเปียกเป็นสารช่วยติดสีขณะย้อม ในบางแห่งใช้กรดทาร์ทาริค (Tartaric acid) แทนน้ำมะขามเปียก เส้นไหมที่ผ่านการย้อมจะมีสีแดง

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ